เฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วม




ติดตาม โรคที่มากบน้ำท่วม


ประมวลภาพกิจกรรม

รายงานรามันสะอาดเพื่อการพัฒนา

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562

รู้จัก พชอ.รามัน





การพัฒนาคุณภาพระบบระบบปฐมภูมิและสุขภาพอำเภอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

ส่วนที่ 1  ข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ให้เห็นสภาพปัญหาของอำเภอ
          อำเภอรามัน จังหวัดยะลาอยู่ห่างจากจังหวัดยะลา 26 กิโลเมตร อำเภอรามัน เป็น 1 ใน 8 อำเภอของจังหวัดยะลา โดยมี นายจรัญ จันทรปาน เป็นนายอำเภอรามัน และเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
                   ในอดีตอำเภอรามัน เป็นอำเภอหนึ่งที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมือง มีพระยารามันห์ เป็นเจ้าเมือง  โดยตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายบุรี บริเวณตำบลกายูบอเกาะในปัจจุบัน คำว่า
รามันเป็นภาษามาลายูแปลว่า สนุกเจ้าพระยารามันห์ เจ้าเมืองจัดให้มีการละเล่นมโหรสพ เพื่อให้ประชาชนมีความสนุกสนานเพลิดเพลินครึกครื้น  จึงเรียกว่า  นครรามันห์ หรือ ศรีรามันห์  หมายถึง  เมืองสนุกสนาน  
การคมนาคม
          อำเภอรามัน อยู่ห่างจากจังหวัดยะลา 26 เมตร ถนนสายหลัก (ทางหลวงแผ่นดิน 4066) (ยะลา นราธิวาส) ตัดผ่านอำเภอรามันและถนนทางหลวงอีกหลายสายที่เชื่อมผ่านกับอำเภอต่างๆ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอรามัน จังหวัดยะลา และ สถานีรถไฟ จำนวน 4 แห่ง คือ สถานีรถไฟไม้แก่น สถานีรถไฟบ้านสะโละปะแต สถานีรถไฟรามัน สถานีรถไฟบาลอ
                   อาณาเขตติดต่อ
                   ทิศเหนือ          ติดต่อกับ อ.เมืองยะลา กิ่ง อ.ทุ่งยางแดง 
.ปัตตานี 
                   ทิศใต้              ติดต่อกับ อ.บันนังสตา จ
.ยะลา อ.รือเสาะ จ. นราธิวาส
                   ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ อ.บาเจาะ  อ.รือเสาะ  
.นราธิวาส
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ อ.เมืองยะลา   อ.บันนังสตา  .ยะลา               
                    ประชากรอำเภอรามัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 รวมทั้งสิ้น 82,915 คน มี 16 ตำบล จำนวน 90 หมู่บ้าน และ จำนวน 17,426 หลังคาเรือน  ราษฎรส่วนใหญ่ของอำเภอรามัน นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 97. 5    ศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.5  มีมัสยิดจำนวน 141 แห่ง และวัดจำนวน 6 แห่ง   ด้านภาษาที่ใช้มีภาษามาลายูพื้นเมือง  ภาษาไทยกลางและภาษาท้องถิ่นภาคใต้                              
         
ส่วนที่ 2 ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและระบบสาธารณสุขของอำเภอ
                   การพัฒนาคุณภาพชิวิตระดับอำเภอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีวิสัยทัศน์ และพันธกิจ โดยมี วิสัยทัศน์ (Vision)  “รามันน่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนสุขภาพดี ไม่ทอดทิ้งกัน” และพันธกิจ ( Mission )
1. ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพดีภายใต้บริบทที่สอดคล้องกับท้องถิ่น 2. เสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
3. สร้างระบบบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน  4. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยภาคีเครือข่ายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอได้ประชุมและหารือประเด็นสภาพปัญหาในพื้นที่อำเภอรามัน พบว่า 5  อันดับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้แก่ 1. การจัดการปัญหาขยะ  2. อุบัติเหตุทางถนน   3.การดูแลผู้ด้อยโอกาสและผู้ป่วยติดเตียง 4. วัคซีนในเด็ก 0-5 ปี และ 5. ไข้เลือดออก
                   คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ได้ร่วมวิเคราะห์ปัญหาภาพรวมของอำเภอรามัน พบว่าปัญหาขยะ เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไข เพราะการจัดการขยะ จะช่วยลดปัญหาสุขภาพต่างๆ ซึ่งขยะเป็นแหล่งรังโรค ส่งผลกระทบต่อปัญหาชุมชน จำเป็นต้องดำเนินการเร่งด่วนเป็นอันดับต้นๆ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านการจัดการขยะ ตลอดจนพัฒนาทางกายภาพในพื้นที่อำเภอรามัน โดยพบว่าในพื้นที่ มีขยะอินทรีย์ ร้อยละ 61  ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 29 ขยะทั่วไป ร้อยละ  7 และขยะอันตราย ร้อยละ 3
                    บริบทขององค์กร อำเภอรามันได้ขับเคลื่อนภายใต้นโยบาย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ มีนายอำเภอรามันเป็นประธาน มีสาธารณสุขเป็นเลขานุการ มีคณะกรรมการ 21 คน เพื่อประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร  บุคคล ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบายให้บรรลุผล ตามอำนาจหน้าที่ ที่คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ และมีคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่ ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามแผนยุทธศาสตร์

ส่วนที่ 3  วิเคราะห์ การจัดบริการสุขภาพที่มีคุณภาพเชื่อมระบบแม่ข่ายและเชื่อมกับชุมชน              
          3.1 พชอ.อำเภอรามัน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว จึงได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายใต้ วาระ “รามัน สะอาด” ภายใต้  4 ยุทธศาสตร์หลัก  (ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ เป้าหมายหลัก ตัวชี้วัด และมาตรการ)

           
ส่วนที่ 4 ประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีทิศทางและแนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง
                 ผลการดำเนินงานตามประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ 1  ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพดีภายใต้บริบทที่สอดคล้องกับท้องถิ่น
          1. อำเภอรามันมีระบบเฝ้าระวังอนามัยสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เสี่ยง และที่กำหนดจัดอบรมสาย
ตรวจ รามันสะอาด ครอบคลุม 16 ตำบล เพื่อรายงานตรงกับประธาน พชอ.
2. ผู้รับผิดชอบงานระบาดของสำนักงานสาธารณสุข นำเสนอ และรายงานผลการควบคุมโรคระบาดที่
นำเสนอในเวทีการประชุมประจำเดือนหัวหน้าส่วน/กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน/อิหม่ามผู้นำศาสนา ทุกเดือน)
3. ประกวดคัดเลือกถนนสะอาด บ้านสะอาด ชุมชนสะอาด มัสยิดต้นแบบ บุคคลต้นแบบ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อเชิดชูเกียรติ คนดี คนเก่ง ให้เป็นแบบอย่างในสังคม และมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติในเวทีการประชุม
          4. สามารถควบคุมการระบาด ผู้ป่วยลดลง และไม่พบผู้ป่วยตาย จากโรคไข้เลือดออก
ผลการดำเนินงานตามประเด็น ยุทธศาสตร์ ที่ 2 เสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
1. อำเภอรามัน ได้จัดทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ อปท.ผู้ นำชุมชน  โรงเรียน  รพ.สต. วัด/มัสยิด มีส่วนร่วมในการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม  ร้อยละ 100 ครอบคลุมทุกตำบล  90 หมู่บ้าน (16 ตำบล) จำนวน 17 แห่ง เน้นโครงการสร้างจิตสำนึกการคัดแยกขยะ และหลัก 3 Rs ติดตามการดำเนินงานโดยการใช้ฮูก่มปากัต ที่ชุมชนกำหนดขึ้น            
2. วัด / มัสยิด ได้จัดกิจกรรม ดังนี้ 1. หนึ่งศุกร์หนึ่งมัสยิดสานใจ โดยเชิญชวนประชาชนในพื้นที่ร่วมอาสาพัฒนามัสยิด 2. ชวนกันเข้าวัด ราษฎร์รัฐร่วมใจ โดยเชิญชวนประชาชน ในพื้นที่ทั้งไทยพุทธและมุสลิม มาพัฒนาวัด ให้สะอาด และในคณะเดียวกัน คณะกรรมการวัด และ มัสยิด ให้ดำเนินการพัฒนาวัด มัสยิด ตามแบบประเมิน ศาสน
สถานส่งเสริมสุขภาพ โดยจะมีทีมประเมินระดับอำเภอลงไปลงประเมินวัด/มัสยิด ตำบลละ
1 แห่ง  ครอบคลุม 16 ตำบล
          3.  โรงเรียน/สถานศึกษา ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึก การคัดแยกขยะ จัดกิจกรรมจิตอาสาทำดี เพื่อชุมชน เด็กนักเรียนช่วยพัฒนาชุมชนตามโอกาส
         
4. ตลาดนัดชุมชน  มีการบริหารจัดการแก้ไขเก็บขยะเจ้าของตลาดนัดให้ดำเนินการจัดเก็บให้เรียบร้อยทุกวัน  
         
5. อำเภอรามัน ปี 2560 เฉลี่ยปริมาณขยะมูลฝอยจำนวน  11,520 ตัน  ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายภาพรวมของอำเภอ ทั้งปี เป็นเงิน  4,608,000 บาท ต่อปี  งบประมาณ ในปี 2561 ขยะมูลฝอยลดลง 720 ตัน /ปีประหยัดงบประมาณ เป็นเงิน 288,000 บาท
ผลการดำเนินงานตามประเด็น ยุทธศาสตร์ ที่ 3 สร้างระบบบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน
          1. คณะกรรมการ ใช้กรบวนการ PDCA ในการดำเนินงาน มีการนิเทศ ติดตาม วิเคราะห์ ประเมินผลการดำเนินงานของพื้นที่ และรายงานผลในการประชุม หัวหน้าส่วนราชการ/กำนันผู้ใหญ่/อิหม่ามทุกเดือน
          2. ใช้เกณฑ์ Green & Clean ,3 Rs  5 ,เกณฑ์ศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพในการประเมินความก้าวหน้าในการพัฒนา
          3. ใช้เทคโนโลยี 4.0 มีกลุ่มไลน์ สายตรวจขยะ มีกลุ่ม face book รามัน, website พชอ.รามัน   และมีการส่งคืนข้อมูลให้พื้นที่ดำเนินการ เพื่อความสะอาดเรียบร้อยของชุมชน
          4. แนวโน้มขยะมูลฝอย อบต./อปท. ในแต่ละเดือน มีปริมาณลดลง (ผลจากการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง) 
ผลการดำเนินงานตามประเด็น ยุทธศาสตร์ ที่ 4 ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยภาคีเครือข่าย
          1. พชอ.รามัน ได้สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ชุมชน  จำนวน 11 แห่ง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเรียนรู้การจัดการขยะ การทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ จากเศษขยะอินทรีย์ และการพึงตนเองได้แบบยั่งยืน ตลอดจน
          2.พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ให้สะอาด ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว นวัตวิถี เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่

ส่วนที่  5.  ผลงานและสิ่งที่ภาคภูมิใจ
          พชอ. อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้ขับเคลื่อนประเด็นอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นสำคัญของพื้นที่ โดยกำหนดเป็นวาระ “รามัน สะอาด” เพื่อให้ทุกภาคส่วน ร่วมดำเนินการ ในพื้นที่และมีผลงาน ความภาคภูมิใจ ดังนี้
          1. ได้รับรางวัลชนะเลิศอำเภอสะอาด การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน จังหวัดยะลา ประจำปี ๒๕๖๑
          2.ตำบลบลโงย รางวัลรองชนะเลิศ ตำบลต้นแบบการจัดการขยะ ของกระทรวงมหาดไทยประจำปี ๒๕๖๑
          3. ตำบลบาโงย ได้รับการคัดเลือกจาก สสส. เป็นศูนย์จัดการเครือข่ายตำบล  ประจำปี ๒๕๖๑
          4. นวัตกรรม “ท่อวิเศษ เก็บขยะ” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอำดับ 2 ในการประกวดผลงานวิชาการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 จังหวัดพัทลุง (ปี 2561)
          6. นวัตกรรม “โชเล่เคลื่อนที่เร็ว” จัดการแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่ ให้สะอาดเรียบร้อย
          5. เกิดชุมชนต้นแบบที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของอำเภอ และจังหวัดใกล้เคียง ในการศึกษาวิถีชุมชนสะอาด  เช่น ชุนชนบาโงย ชุมชนบ้านเลสุ ชุมชนบ้านสะโต ชุมชนบ้านจะแนง ชุมชนบ้านกอตอตือร๊ะ ชุมชนบาลอ ชุมชนกาลอ ชุมชนตำบลยะต๊ะ ชุมชนมะดือลง ชุมชนแอแกง ชุมชนกายูบอเกาะ เป็นต้น
  ผู้ประสาน พชอ.รามัน
  นายยะห์ยา บานีอัลมาฮ์มูดี  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
   อีเมล abidarwis2@gmail.com
  โทร. 0611096101


Read More »

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562

รามันสะอาด-งานเบิกฟ้ารามันห์2019



Read More »

รามัน สะอาด-มัสยิด สะอาด




Read More »

รามัน สะอาด รพ.สต. สะอาด



Read More »